ระบบการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องต๊าปเกลียว

งาน Tapping คือ การทำเกลียวด้านในของรูปประเภทหนึ่งจะใช้ Tap ในการขึ้นรูปเกลียว การที่ Tapping จะมี Holder เพื่อใช้ในการจับยึดดอกต๊าป (Tap) เข้ากับเครื่องจักรซึ่งในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้ Spring Collet ในการจับยึด แต่เทคโนโลยีในการจับยึด Tap (ดอกต๊าป) ได้มีการพัฒนามากจนสามารถทำให้การทำงานใน Process เครื่องต๊าปเกลียวมีความเที่ยงตรงมากขึ้นและลดความผิดพลาดในการทำงานหลายๆ อย่างลง

Tapping Holder ซึ่งมีรูปแบบการทำงานอยู่หลากหลายโดยเราสามารถเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นงาน Tapping ของเราได้ โดยจะขออธิบายเป็นหัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1. Quick Change เป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนดอกต๊าป (Tap) ได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
  2. Centering ช่วยป้องกันการหักของดอกต๊าป (Tap) เนื่องจากการเยื้องศูนย์ของดอกต๊าป (Tap) กับรูเจาะ
  3. Contraction Divice (F1) เป็น Function ที่ช่วยลด Load เมื่อดอกต๊าป (Tap) เริ่มเข้าสัมผัสกับรูเพื่อให้เกลียวในช่วงกันของรูไม่เสียหาย
  4. Expansion (F2) เป็น Function ที่ช่วยให้

– ระยะความลึกของงาน Tapping รูตันแม่นยำขึ้น

– ช่วยให้ Feed และความเร็วรอบสัมพันธ์กัน ซึ่งส่งผลให้เกลียวที่ได้มีความสมบูรณ์

– เกลียวของงาน Tapping รูตันในช่วงสุดท้ายไม่เสียหาย

  1. Thread Depth Control Device

– ทำงานร่วมกับ Function Expansion (F2) เพื่อให้ระยะความลึกของรูตันแม่นยำมากขึ้น

– ช่วยลดความเสียหายจากการที่ดอกต๊าป (Tap) หักจากการกระแทกรู

  1. Tongue Control Device ช่วยในการป้องกันการหักของดอกต๊าป (Tap) เนื่องจากขนาดของรูหรือ Material ของชิ้นงานผิดพลาดกับเครื่องต๊าปเกลียว
  2. Auto Reverse เป็นFunction ที่ช่วยให้เครื่องจักรที่ไม่มี Function Tapping สามารหมุน Spindle ย้อน กลับเมื่อ Tapping สุดรูได้ http://www.tcgroup.asia/